แนะนำตัวเอง

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเพณีปีใหม่ของชาวลีซอ




ลานเต้นรำก็อยู่ในบริเวณหมู่บ้าน


ประเพณีปีใหม่ “โข่เซยี่ย”
        เมื่อครั้งหนึ่งที่เรามีโอกาสไปเมืองแม่ฮ่องสอน ดินแดนขุนเขาดอยสูง เพื่อติดตามกิจกรรมประเพณีที่สำคัญของชนเผ่าชาวเขา เผ่าลีซอ หรือ ลีซู คือ เทศกาลประเพณีปีใหญ่ลีซอ ซึ่งเราต้องเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านที่อยู่ลึกจากถนนใหญ่    เทศกาลฉลองปีใหม่ของลีซอ หรือ โข่เซยี่ยอาบา เป็นเทศกาลปีใหม่ที่มี ความสำคัญของชาวลีซอมาก ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นวันเริ่มต้นสำหรับชีวิตใหม่ และสิ่งใหม่ๆหรือเรียกว่าฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เข้ามากับตัวเอง ในงานเทศกาลปีใหม่ลีซอนั้นมีการจัดกิจกรรมหลายอย่างได้แก่ การทำบุญศาลเจ้า การขอศีลขอพรจากเทพเจ้าและจากผู้อาวุโส มีการละเล่นต่าง ๆ การร้องเพลง การเต้นรำเป็นต้น
        เทศกาลฉลองปีใหม่ของชาวลีซอนั้นตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีน ของชาวจีนทั่วไป หมู่บ้านที่มีชาวลีซอตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ เป็นต้น

บ้านเรือนและความเป็นอยู่ของลีซอบางหมู่บ้าน

ภาระการเลี้ยงดูลูกก็เป็นฝ่ายหญิง

แคนน้ำเต้าที่ใช้เป่าประกอบการเต้นรำ

ผู้เป่าแคนจะเต้นนำไปตามจังหวะของดนตรี
    สำหรับกิจกรรมและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ทำในวันนี้คือ นึ่งข้าวเหนียว เพื่อตำข้าวปุ๊กในตอนเช้า เมื่อข้าวสุกแล้วก็นำข้าวเหนียวไปตำจนนุ่ม และโรยแป้งหรืองา เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวติดมือ และปั้นเป็นก้อนพอประมาณ ใส่ลงไปในใบตองที่เตรียมไว้ โดยทบไปตองไปมา หน้าละ 2 ก้อน จนกระทั่งใบตองหมดแผ่น จึงทำแผ่นใหม่เรื่อย ๆ จนหมด ก่อนวัน “ป่าปาเตี๊ยะ” 1 วันช่วงเย็นต้องเตรียมต้นไม้ “โข่เซยี่ยและจึว” จะเลือกเอาจากต้นไม้ที่มีลักษณะงาม ลำต้นเรียวยาว สูงประมาณ 1.5 เมตร โดยนำต้นไม้มาปักกลางลานบริเวณบ้าน จากนั้นนำ “ป่าปา” และเนื้อหมูหั่นยาวประมาณ 6-7 นิ้ว “ซาซือ” แขวนที่เสา และจุดธูป 2 ดอก และมีการเตรียมไข่ต้ม และเส้นด้ายยาวขนาดที่จะมัดที่คอหรือข้อมือได้ เท่ากับจำนวนสมาชิกในบ้าน ผู้อาวุโสในบ้าน (จะเป็นผู้ชาย) เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ โดยการเอาไข่ต้มทั้งหมด และเส้นด้ายที่จะใช้มัดวางขนถ้วยที่ใส่ข้าวสุกที่วางบนผ้าอีกชั้นหนึ่ง ไปยืนเรียกขวัญที่หน้าประตูบ้านเมื่อทำพิธีเสร็จ จึงทำการผูกด้ายสายสิญจน์ และให้ไข่ต้มแก่สมาชิกคนละใบ เพื่อให้ขวัญที่อาจหลุดลอยไปจากร่างกายของเจ้าของได้กลับเข้าร่างของตน      สำหรับการตั้ง “โข่เซยี่ยและจึว” นั้น เพื่อเป็นการอันเชิญให้เทพผู้หญิงลงมาประทับ จะให้ศีลและพรแก่เจ้าของบ้าน และจะลงมาเยี่ยมเยียนปีละครั้งในตอนเช้าของวันแรกของวันปีใหม่ จึงต้องทำความสะอาดบ้าน ก่อนที่เทพองค์นี้จะลงมา เชื่อว่าหากบ้านไหนสกปรกจะไม่ให้พร นอกจากนี้ยังใช้สำหรับเป็นจุดศูนย์กลางในการเต้นรำรอบ ๆ ต้นอีกด้วย เพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ และขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากบริเวณบ้าน

สาวน้อยผู้เลอโฉม

ผู้เป่าแคนจะผาเดินวงรอบต้นไม้ที่ปักไว้กลางลาน


สาวลีซอวัยน่ารัก
         วันแรกสำหรับของการปีใหม่ ในวันนี้ ทุกบ้านจะต้องตื่นแต่เช้า เพื่อเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำพิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และเทพ “อาปาโหม่ว” โดยทุกบ้านต้องส่งตัวแทนไปร่วม 1 คน ต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น อุปกรณ์ที่นำไป ได้แก่ ข้าวปุก 1 คู่ เหล้า 1 ขวด และเนื้อหมู 1 อัน เพื่อนำไปขอศีลพรจากเทพ “อาปาโหม่ว” ซึ่งเป็นเทพที่ปกป้องดูแลคนภายในหมู่บ้าน พอสายก็เตรียมอุปกรณ์เพื่อไปร่วมพิธีดำหัว “มือหมือ” ซึ่งเป็นผู้นำพิธีกรรมต่าง ๆ ตลอดปีที่ผ่านมา และขอศีลพรจาก “มือหมือ” อีกด้วย จากนั้นจะมีการเต้นรำ ร้องเพลง โดยหนุ่มสาวจะแต่งกายด้วยชุดชนเผ่า และสวมเครื่องประทับอย่างสวยงามมาเต้นรำอย่างสนุกสนาน ผู้ใหญ่ก็จะร้องเพลง พูดคุยกัน จนกระทั่งดึก ก็จะมีการเต้นรำเวียนรอบบ้านทุกบ้าน เป็นการเฉลิมฉลอง และต้อนรับปีใหม่ ตลอดจนเพื่อให้พร และสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านต่าง ๆ โดยเจ้าบ้านจะคอยต้อนรับด้วยการนำขนม น้ำชา และเหล้ามาเลี้ยงขอบคุณ
      วันที่สองสำหรับงานปีใหม่ ในวันนี้ชาวบ้านจะมาทำพิธีดำหัวผู้นำชุมชน เพื่อขอบคุณผู้นำชุมชนที่ดูแล และปกครองคนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดปี ซึ่งพิธีกรรมและกิจกรรมเหมือนการดำหัว “มือหมือ” แต่จะไม่มีการ “โข่เซยี่ยจั๊วะ” จะร่วมกิจกรรม และเต้นรำตลอดวัน และตลอดคืนที่นี่

เฮฮาตามประสาเด็กๆ

ท่าทะเล้นมาตรฐาน

การเต้นรำโดยการใช้ซึงเป็นเครื่องดนตรี

หมูสามชั้น ไขมันล้วน
     วันที่สามสำหรับงานปีใหม่ ในวันนี้ช่วงเช้าจะไปยังบริเวณศาลเจ้า เพื่อขอศีลขอพรจากเทพ ผู้ยิ่งใหญ่ที่ปกป้องดูแลไม่ให้เกิดสิ่งชั่วร้ายสำหรับคน
      พิธีสำคัญในงานปีใหม่จะมีเพียง 3 วันเท่านั้น นอกจากนั้นจะสามารถจัดงานรื่นเริง เต้นรำ ร้องเพลง ได้เรื่อย ๆ ประมาณ 3 - 7 วัน หรือตามแต่คนในชุมชนอยากจะจัด

ซึง หรือ ซือบือ เครื่องดนตรีของเผ่าลีซอ

สีสันเครื่องแต่งกายของสาวเผ่าลีซอ
       ขั้นตอนประเพณีปีใหม่ลีซอ ส่วนใหญ่เราจะไม่ค่อยได้เห็น เพราะเขาจัดทำขึ้นตามบ้าน หรือสถานที่สำคัญ ยกเว้นว่าเราได้รับข้อมูลหรือขั้นตอนต่างๆ ส่วนใหญ่เราจะพบเห็นชาวลีซอแต่งกายอย่างงดงาม ออกมาเต้นรำกันทั้งกลางวันและกลางคืน ล้อมวงเป็นวงใหญ่ โดยมีเสาไม้เป็นหลักวง “โข่เซยี่ยและจึว”
       จังหวะการเต้นรำ ก็เป็นจังหวะเฉพาะของชนเผ่าลีซอ โดยมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรำ ได้แก่ ซึง “ชือบือ” แคนน้ำเต้า “ฟู่วหลูว” มีหลายประเภท มีทั้งแคนสั้น และแคนยาว และขลุ่ย “จู่วหลู่ว” เป็นต้น เป็นตัวให้จังหวะในเต้นสลับเท้า และหมุนรอบตามวงกลม
ปีใหม่ลีซอ จัดว่าเป็นงานประเพณีของชนเผ่าชาวในประเทศไทย ที่มีสีสันมากที่สุด และมีการจัดงานตรงกับงานเทศกาลตรุษจีนเป็นประจำทุกปี


ลานการเต้นรำของลีซอในวันปีใหม่

ถึงมอมแมมไปหน่อย ก็น่ารักน่าหยิกเชียว





เครื่องเซ่นไหว้เจ้า

ทำหน้าแบบสวยซึ้ง


ในภาพนี้มีสาวลีซอแปลงร่างมาหนึ่งคน

รวมภาพหมู่สาวๆ มีทั้งลีซอแท้ และลีซอแปลงร่าง





สวยแก้มยุ้ยเชียว

สวยงามด้วยธรรมชาติและรากเหง้าของชนเผ่า

สวยเต็มชุด ที่นำมาใส่ในวันสำคัญๆ

ชุดแต่งกายของผู้หญิงจะมากมายด้วยสีสัน

ช่วยกันประดับแต่งกาย ก่อนออกมาร่วมในวันปีใหม่

สาวๆ ลีซอ ออกมาล้อมวงเต้นรำเป็นกลุ่มใหญ่

ขอขอบคุณข้อมุลจาก www.MooHin.com

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเพณีปีใหม่ของแต่ชนเผ่าต่างๆ


       
   ความยิ่งใหญ่ของเทศกาลปีใหม่ของแต่ละชนเผ่าที่ไม่มีใครเป็นรองใคร ซึ่งเป็นเทศกาลที่แสดงถึงวิถีชีวิตของแต่ละชนเผ่าที่แตกต่างกันออกไป และมีความสำคัญต่อชนเผ่าแต่ละชนเผ่าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งประเพณีของแต่ละชนเผ่านั้นสืบเนื่องมาจากภูมิปัญญาของแต่ละชนเผ่าเอง ส่วนใหญ่แล้วแต่ละประเพณีนั้นมาจากวิถีชีวิตของแต่ละชนเผ่า เป็นการสื่อถึงความทุกข์ยากลำบากของแต่ละชนเผ่า และความรุ่งเรืองของแต่ละชนเผ่า ตลอดจนวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของแต่ละชนเผ่า ซึ่งทางทีมงานของเราได้ไปเก็บข้อมูลนี้มาเพื่อที่จะจัดทำให้ทุกคนที่มีความสนใจเรื่องประเพณี ของแต่ละชนเผ่าให้ได้ทราบตรงกับความเป็นจริง ณ โอกาสนี้





         เทศกาลปีใหม่กะเหรี่ยง หรือ นี่ซอโค่ เป็นเทศกาลการฉลองขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นวันที่ชาวกะเหรี่ยงจะต้องเริ่มต่อสู้กับวิถีชีวิตในรอบปีใหม่ที่กำลังมาเยือน ซึ่งในวันฉลองปีใหม่นั้นชาวกะเหรี่ยงมีกิจกรรมที่นิยมปฏิบัติ ดังนี้ ทำขนม และของคบเคี้ยว ได้แก่ ข้าวปุ๊ก ข้าวเหนียวต้ม ข้าวหลาม เพื่อที่จะเป็นของถวายเทพเจ้า และเป็นอาหารกินในวันนั้นอีก ซึ่งหากบุคคลใดที่มีความสนใจที่จะเข้าไปศึกษาถึงวิถีชีวิต ตลอดจนการศึกษาทำวิจัยก็สามารถที่จะเข้าไปในหมู่ บ้านที่มีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ได้ในจังหวัด ดังต่อไปนี้ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี เป็นต้น

      ม้ง



           เทศกาลปีใหม่ม้ง หรือ น่อเป๊โจ่วฮ์ หรือแปลตามตัว คือ กินสามสิบปี ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองปีใหม่ของม้ง จะจัดขึ้นในระหว่างเดือนธันวาคมและมกราคมของทุกปี ซึ่งเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่เข้ามา และเป็นการฉลองความสำเร็จของหนึ่งรอบปีอีก ซึ่งในเทศกาลปีใหม่นั้นจะมีการจัดกิจกรรมมากมายหลายชนิด ได้แก่ การโยนลูกช่วง การเล่นลูกข่าง การประกวดธิดาดอย การประกวดการร้องเพลงม้ง ฯลฯ ซึ่งเทศกาลนี้สามารถที่จะหาดู หรือเข้าไปชมการฉลองเทศกาลปีใหม่ม้งได้ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ที่มีม้งประจำอยู่ซึ่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก เป็นต้น

                                                                             เมี่ยน


            เทศกาลฉลองขึ้นปีใหม่เมี่ยน คือ วันตรุษจีน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 (จะนับ วัน เดือน ปี แบบจีน) ก่อนถึงวันขึ้นปีใหม่เมี่ยนจะมีการจัดเลี้ยงผีบรรพบุรุษ และเพื่อส่งท้ายปีเก่าต้องรับปีใหม่ที่จะเข้ามา ซึ่งภายในงานฉลองเทศกาลปีใหม่นั้น จะมีการจัดกิจกรรมอยู่มากมาย เช่น การพบปะญาติมิตร การรับขวัญ ด้วยไข่แดง เป็นต้น ท่านที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมฉลองเทศกาลปีใหม่เมี่ยนนั้น หรือเข้าชมได้ตามหมู่บ้านที่มีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ ซึ่งจังหวัดที่มีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ พะเยา น่าน ลำปาง กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย เป็นต้น




                ประเพณีปีใหม่การกินวอ หรือ เขาะเจ๊าเว เป็นเทศกาลฉลองปีใหม่ของลาหู่ที่ไม่เหมือนกับชนเผ่าอื่น ๆ ปีใหม่การกินวอของลาหู่นั้น จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลาหู่เอง ซึ่งปีใหม่การกินวอนั้นมีความสำคัญต่อลาหู่เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นประเพณีเกี่ยวกับวีถีชีวิตของลาหู่เป็นส่วนมาก หากท่านใดที่มีความสนใจก็สามารถที่จะเข้าไปชม หรือเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามหมู่บ้านที่ใกล้เคียง หรือเข้าไปชมในจังหวัดที่ใกล้เคียงได้ ซึ่งสามารถพบลาหู่ในจังหวัด ดังนี้ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่



            เทศกาลฉลองปีใหม่ของลีซู หรือ โข่เซยี่ยอาบา เป็นเทศกาลปีใหม่ที่มี ความสำคัญของชาวลีซูมาก เพราะชาวลีซูมีความเชื่อว่าเป็นวันเริ่มต้นสำหรับชีวิตใหม่ และสิ่งใหม่ๆหรือเรียกว่าฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เข้ามากับ ตัวเอง ในงานเทศกาลปีใหม่ลีซูนั้นมีการจัดกิจกรรมหลายอย่างได้แก่ การทำ บุญศาลเจ้า การขอศีลขอพรจากเทพเจ้าและจากผู้อาวุโส มีการละเล่นต่าง ๆ การร้องเพลง การเต้นรำเป็นต้น ซึ่งเทศกาลฉลองปีใหม่ของชาวลีซูนั้นตรง กับวันที่ 1 เดือน 1 ของทุกปี หากผู้ใดมีความสนใจก็สามารถที่เข้าไปชมกิจกรรม หรือเข้าร่วมกิจกรรมได้ในหมู่บ้านที่มีชาวลีซู ในจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ เป็นต้น รายละเอียด



             เทศกาลการฉลองปีใหม่ของอาข่านั้นมีหลายเทศกาลซึ่งได้แก่ ประเพณี ไข่แดงประเพณีตีลูกข่าง ประเพณีโล้ชิงช้าซึ่งแต่ละประเพณีนั้นล้วนแต่มีความ สำคัญ มีคุณค่าต่อภูมิปัญญาของชาวอาข่า ซึ่งประเพณีไข่แดง หรือ ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว ซึ่งมีความหมายว่า ประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ตรงกับกลาง เดือน เมษายน ส่วนประเพณีโล้ชิงช้า หรืออาข่าเรียกว่า "แย้ขู่อ่าเผ่ว" ซึ่งจะมี การจัด ขึ้นทุก ๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายนถือเป็น พิธีกรรมที่มีคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการส่งเสริมความรู้แล้ว ยังเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของอาข่าอีกมากมาย ส่วนประเพณีการตีลูกข่าง หรือ ค๊าท้องพ้าเออ จัดขึ้นเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่ง เทศกาลต่างของชนเผ่าอาข่านั้น สามารถที่จะหาดูได้หรือสามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้ในหมู่บ้านที่มีชนเผ่าอาข่าอยู่ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ตาก และ เพชรบูรณ์ เป็นต้น


การเปรียบเทียบลักษณะบ้านของชาวดอย


       บ้านของชาวเขาทั้งหลายดูเหมือนจะไม่แตกต่างกัน คือมีส่วนของไม้ ไม้ไผ่ และหลังคาหญ้าคา ซึ่งเป็นของที่หาได้ง่ายในป่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในแต่ละชนเผ่า มีความแตกต่างกันในรายละเอียด ถ้าแบ่งประเภทใหญ่ๆ ก็จะแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่สร้างติดไปกับพื้นดิน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจีน และลักษณะยกพื้น ซึ่งน่าจะเป็นอิทธิพลจากไทยใหญ่
ลาหู่




         บ้านลาหู่ มีลักษณะยกพื้น ใต้ถุนไม่สูง ประมาณ 100 ซม. บันไดบ้านจะมีลักษณะเรียบง่าย บางบ้านใช้ไม้เพียงท่อนเดียววางพาด และเจาะลึกลงไปในเนื้อไม้ สำหรับเท้าเหยียบ บางบ้านใช้ไม้กระดานวางพาด และตอกด้วยไม้ท่อน ขนาดหน้ากว้างประมาณ 3 นิ้ว ภาพนี้เป็นบ้านลาหู่ลาบา ซึ่งจะคล้ายลาหู่แดง และลาหู่อื่น ๆ แต่บ้านลาหู่นะ (ลาหู่ดำ) จะสร้างไว้บนพื้น


ม้ง




         บ้านม้ง สร้างบนพื้น แบบดั้งเดิมจะใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน แต่สมัยใหม่จะเป็นคอนกรีต บ้านจะมีขนาดใหญ่ เพราะอยู่อาศัยในลักษณะครอบครัวขยาย


ลีซู



บ้านลีซุ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบติดดิน แต่มีบ้างที่สร้างแบบยกพื้น เพราะสภาพพื้นที่อยู่ตามไหล่เขา ลาดชัน ไม่สามารถสร้างแบบติดดินได้ การสร้างจะเป็นรูปแบบการลงแรงช่วยกันทำ ให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว


เมี่ยน


บ้านเมี่ยน มักสร้างติดดิน เนื่องจากอิทธิพลจีน ภายในบ้านจะแบ่งส่วนเป็นห้องนอน ห้องครัวแยกต่างหาก และบริเวณห้องโถงใหญ่ จะมีแคร่สำหรับนั่งเล่น และใช้เป็นเตียงเวลามีแขกมาพัก


อาข่า


บ้านอาข่า จะสร้างแบบยกพื้น มีหลังคาต่ำ เพื่อกันลม และฝน พร้อมระเบียง ภายในตัวบ้าน หากเป็นแบบดั้งเดิม จะมีการแยกฝั่งชาย-หญิง มีประตูขึ้นลงด้านหน้าบ้าน และด้านหลังบ้าน แต่ประตูด้านหลังบ้านจะใช้เมื่อเป็นคนสนิท


ขอขอบคุณข้อมูลจาก    
http://www.hilltribe.org/thai/akha/akha-swing.php

พิธีกรรมวันอิสเตอร์


           พิธีกรรมวันอิสเตอร์ เป็นวันที่สำคัญของกะเหรี่ยง ชนเผ่าปากากะญอที่นับถือศาสนาคริสต์อีกพิธีหนึ่ง จากข้อมูลที่ได้จากผู้ประกอบพิธีทางศาสนา ได้เล่าถึงเรื่องราวความเป็นมา และการประกอบพิธีกรรมในวันอิสเตอร์ ความสำคัญวันอิสเตอร์เป็นวันที่พระเจ้าทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย ซึ่งมีหลักการนับวัน และเวลาอยู่ในช่วงวันอาทิตย์ หลังพระจันทร์เต็มดวงของวันที่ 21 เดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ตามหลักที่พระคัมภีร์ที่ได้บัญญัติไว้ จึงทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องวันอิสเตอร์ เชื่อกันว่าพระเยซู์ยอมให้ทหารโรมันแห่งชนชาติอิสราเอลตรึงพระองค์บนไม้กางเขน เพื่อถ่ายบาปให้กับมนุษย์โลก หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ลงพระศพของพระองค์ถูกเคลื่อนย้ายเก็บไว้ในอุโมงค์ ก่อนที่จะนำไปฝัง หลังพระองค์สิ้นพระชนม์ได้สามวันพระองค์ได้ฟื้น

คืนชีพในเช้ามืดของวันอาทิตย์ 



           เหตุผลเชื่อการว่าช่วงเวลาที่ศพของพระองค์ได้ถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ มารีย์ หญิงชาวมักดาลา และสะโลเมเป็นสาวกของพระเยซู หญิงเหล่านี้จะตื่นแต่เช้ามืด เพื่อที่จะนำน้ำมันหอมมารินลงบนพระศพของพระองค์ เป็นการช่วยรักษาศพให้คงสภาพไม่เน่าเปื่อย ฉะนั้น เมื่อถึงวันอิสเตอร์คนปกากะญอจะตื่นแต่เช้ามืด เพื่อที่จะไปยังสุสานของแต่ละครอบครัว จะนำดอกที่เตรียมไว้นำไปเคารพศพของบรรพชนของตนเอง เมื่อทุกคนทำธุระของตัวเองเสร็จ ทุกคนในหมู่บ้านมาครบ อาจารย์ศาสนาจะเป็นผู้เริมกล่าวเปิด และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา


กิจกรรมควานหาไข่
              กิจกรรมหาไข่เป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินเด็กๆ จะชอบเป็นพิเศษ เป็นกิจกรรมที่น่ารักอบอุ่น จะเห็นความพยายามของทุกคนที่ตั้งใจที่หาไข่ที่ซ่อนไว้ตามจุดต่างๆ บริเวณสุสานกิจกรรมนี้มีมาช้านานเป็นกิจกรรมที่สนุก และแฝงไปด้วยคติสอนใจ ความหมาย และที่มาที่ไปเล่ากันว่ามีแกะอยู่หนึ่งร้อยตัว แล้ววันหนึ่งมีแกะที่หลงหายไปหนึ่งตัว ซึ่งเป็นตัวที่เกเร และเจ้าของรักมากจึงออกตามหาจนเจอ เมื่อเจอจึงเกิดความชื่นชมยินดี ฉะนั้นการหาไข่จึงเปรียบเสมือนการหาแกะที่หลงหายไปหนึ่งตัวนั้นเอง ซึ่งเป็นตำนานที่บรรพบุรุษชาวปากากะญอที่นับถือศาสนาคริสต์ ได้สืบทอดเป็นตำนานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติลงไว้ในพระคัมภีร์เพื่อเป็นสื่ออันสำคัญให้ลูกหลาน ได้ศึกษา และได้ปฏิบัติตาม ณ.เวลานี้เป็นระยะเวลากว่าร้อยกว่าปีที่มีการปฏิบัติกันมา และคาดหวังว่าจะมีสืบทอดกันไปในเจตนารมณ์ที่ดีงามตลอดไปตราบเท่าที่เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังคงอยู่

ความเชื่อเรื่องสีของชนเผ่าต่างๆ

        ความเชื่อเรื่องสี ของชนเผ่ามีความเชื่อที่แตกต่างกัน เพราะส่วนใหญ่การดำรงชีวิตของชนเผ่าจะเกี่ยว
เนื่องกับเรื่องของสี และมีความเชื่อในโชคลางอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสีที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นสีที่เป็น
มงคลมากกว่า ส่วนสีอัปมงคลนั้นจะนำมาใช้น้อยมาก หรือแทบจะไม่ได้นำมาใช้เลย และความแตกต่างของ
ชนเผ่า ทำให้ความเชื่อเรื่องของสีแตกต่างกันไป

ชนเผ่า
สีมงคล
สีัอัปมงคล
กะเหรี่ยง (Karen)
สีแดง และสีขาว 
เพราะเชื่อว่า
สีแดงสีแห่งความเจริญ สีแห่ง
ความมั่นคง สีแห่งความสำเร็จ
สีแห่งความแข็งแกร่ง สีแห่งการ
มีชัย และสีขาวเป็นสีแสดงถึง
ความบริสุทธิ์
สีดำ เป็นสีแห่งความมืดมัว
สีแห่งความลี้ลับซับซ้อน
สีแห่งความอับเฉา
ม้ง (Hmong)
สีดำ เพราะเชื่อว่า เป็นสีที่มี
ความหนักแน่น สีแห่งชัยชนะ
สีแห่งความสำเร็จ
สีแห่งความผาสุข
สีแดง ม้งจะมีสีแดงสวมใส่ให้
คนตาย ม้งจึงไม่นิสมสวมใส่
สีแดง หรือมีสีแดงไว้ครอบครอง
นั่นหมายถึงความหายนะ
ความสูญเสีย ความล้มเหลว
เมี่ยน (Mien)
สีแดง เพราะเชื่อว่า เป็นสีของ
เลือด สีแห่งความสำเร็จ
สีแห่งความหวัง
สีแห่งความเจริญ
สีดำ เพราะถือว่าเป็นสีแห่ง
ความตาย
ลาหู่ (Lahu)
สีขาว กับสีเหลือง เพราะเป็นสี
แห่งชัยชนะ สีแห่งความสำเร็จ
สีแห่งความผาสุข
สีแห่งความสงบ
สีดำ เพราะเชื่อว่าเป็นสีแห่ง
ความซับซ้อน ลี้ลับ มืดมัว
ลีซอ (Lisu)
สีแดง เพราะถือว่า สีแดงเป็นสีแห่ง
สายเลือด สีแห่งความสำเร็จ
สีแห่งความงอกงาม
ส่วนสีขาว เป็นสีแห่งความบริสุทธิ์
สีขาว และดำ เพราะเชื่อว่าเป็นสี
แห่งคนตาย สีขาวจะเชื่อกันสอง
แบบ คือ สีของคนตาย ส่วนอีก
ความหมายคือสีแห่งความบริสุทธิ์
อาข่า (Akha)
สีแดง เพราะเชื่อว่าเป็นสีแห่ง
ความสำเร็จ
สีดำ เพราะเชื่อว่าเป็นสีแห่ง
ความล้มเหลว สีแห่งความไม่เจริญ
รุ่งเรือง สีแหงคงวามอับเฉา


ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://kpp.nfe.go.th/libkla/L05.html

ประเพณีปีใหม่เมี่ยน (เจี๋ย เซียง เหฮียง)



   ปีใหม่เมี่ยน (เจี๋ย เซียง เหฮียง)     ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี จะเป็นประเพณีของชาวจีนสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่ชาวไทยเชื้อสายจีนทุกคนต่างนับถือสืบทอดมาจนถึงรุ่นลูกหลาน
เทศกาลตรุษจีน ถือว่าเป็นเทศกาลวันปีใหม่ของชาวจีน เช่นเดียวกับชนชาวเขากลุ่มหนึ่ง ที่มีเชื้อสายจีนมาตั้งแต่บรรพบุรุษเช่นกัน คือ ชนเผ่าเย้า หรือเมี่ยน ที่มีถิ่นฐานบ้านเรือนตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงในเขตภาคเหนือของไทย    ทุกปีชาวเมี่ยนหรือเย้า ต่างได้ดำเนินกิจกรรมประเพณีเพื่อระลึกถึงบรรพชน และเป็นวันสำคัญของชีวิต เฉกเช่นเดียวกับวันปีใหม่ของชาวไทย หรือชนชาติต่างๆ


                                                                ต้นแบบผู้ชายเมี่ยน 


                                                                ต้นแบบผู้หญิงเมี่ยน

          ปีใหม่เมี่ยน คือ วันตรุษจีน ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 (จะนับ วัน เดือน ปี แบบจีน) ก่อนถึงวันขึ้นปีใหม่เมี่ยนจะมีการจัดเลี้ยงผีบรรพบุรุษ และเพื่อส่งท้ายปีเก่าต้องรับปีใหม่ที่จะเข้ามา ภายในงานฉลองเทศกาลปีใหม่นั้น จะมีการจัดกิจกรรมอยู่มากมาย เช่น การพบปะญาติมิตร การรับขวัญ ด้วยไข่แดง
พื้นที่ตั้งของชนเผ่าเมี่ยนหรือเย้าในประเทศ จะกระจายในเขตภาพเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ พะเยา น่าน ลำปาง กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย เป็นต้น
          เนื่องจากเผ่าเมี่ยนใช้วิธีนับวันเดือนปีแบบจีน ดังนั้นวันฉลองปีใหม่จึงเริ่มพร้อมกันกับชาวจีน คือ วันตรุษจีน ภาษาเมี่ยนเรียกว่า เจี๋ยฮยั๋ง ก่อนที่จะถึงพิธี เจี๋ยงฮยั๋ง นี้ ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะต้องเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นทั้งของใช้ส่วนตัว และของใช้ในครัวเรือนให้เรียบร้อยก่อน เพราะเมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่แล้ว จะมีกฏข้อห้ามหลายอย่างที่เผ่าเมี่ยน ยึดถือและปฏิบัติกันต่อ ๆ กันมา



ภายในบ้านที่เขียนป้ายหนังสือจีนสีแดง มีความหมายที่เป็นมงคล






                                        หญิงชาวเมี่ยน มีความชำนาญในงานปักเป็นพิเศษ

        ช่วงวันขึ้นปีใหม่ บรรดาญาติพี่น้องของแต่ละครอบครัว ที่แต่งงานแยกครอบครัวออกไปอยู่ที่อื่น ก็จะพากันกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ และญาติพี่น้องของตนเอง เป็นการพบปะสังสรรค์ และทำพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษร่วมกัน
       เสียงเมี้ยน พิธีนี้จะเริ่มถือว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า เป็นการแสดงความขอบคุณแก่วิญญาณ บรรพบุรุษที่ได้คุ้มครองดูแลเรา ในรอบปีที่ผ่านมาด้วยดี
แซ่ง เอี๊ยด ดอม เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ละครอบครัวจะตื่นแต่เช้ามืด แล้วเดินไปหลังบ้านไปเก็บก้อนหินเข้าบ้าน เสมือนเรียกขวัญเงินขวัญทองเข้าบ้านด้วย ทำให้ครอบครัวมีความสุข พอเก็บก้อนหินเข้ามาในบ้านแล้ว ผู้ใหญ่จะต้มไข่เพื่อย้อมไข่แดง ส่วนเด็ก ๆ ตื่นขึ้นมาก็จุดประทัด หรือยิงปืนเพื่อเป็นสิริมงคล และเฉลิมฉลองปีใหม่





มุมห้องครัวที่มีเนื้อหมูชำแหละไว้เลี้ยงในงานปีใหม่ 



เครื่องเงินประกอบการแต่งกายของผู้หญิงชาวเมี่ยน 

และทำพิธี "ป๋าย ฮหยัง" เป็นพิธีไหว้บรรพบุรุษ หรือศาลเจ้า เป็นความหมายว่าปีเก่าได้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งไม่ดีต่าง ๆ ก็ขอให้หมด หรือผ่านไปเสีย เริ่มปีใหม่แล้วขอให้มีแต่สิ่งดี ๆ การดำรงชีวิตสะดวก ราบรื่น ไม่มีปัญหาอุปสรรค และอื่น ๆ พิธีนี้แต่ละครอบครัว แล้วแต่ว่าจะทำหรือไม่ บางทีก็ทำหมดทั้งหมู่บ้าน ซึ่งจะมีการเวียนไหว้กันไปจนครบทุกบ้าน หรือบางครั้งอาจมีการไหว้เป็นสายตระกูลหรือเครือญาติเท่านั้น
โดยจะไปไหว้หรือทำพิธีที่บ้านเดียว ที่บ้านของเครือญาติอาวุโส ที่เป็นเครือญาติเดียวกัน และเป็นหลักในด้านพิธีกรรม หรือเป็นผู้นำด้านพิธีกรรมของแต่ละตระกูล ซึ่งจะมีหิ้งผีบูชาบรรพบุรุษแตกต่างออกไปจากคนอื่น คือหิ้งบูชาจะมีลักษณะเป็นศาลเจ้า ภาษาเมี่ยนเรียกว่า เมี้ยน เตี้ย หลง ส่วนคนอื่นทั่ว ๆ ไปจะมีหิ้งบูชาธรรมดาที่เรียกกันว่า เมี้ยน ป้าย





ผู้เฒ่าเมี่ยน 

เมื่อทำพิธีไหว้บรรพบุรุษ "ป๋าย ฮหยัง" เสร็จแล้ว พ่อแม่ก็จะนำไข่แดงมาแจกให้กับเด็ก ๆ และญาติพี่น้องที่มาร่วมงาน แล้วผูกเชือกให้สวยงาม ต่อจากนั้นก็จะทำอาหารรับประทาน มีการสังสรรค์กันตามประสาญาติพี่น้อง และเพื่อนร่วมงาน ในวันขึ้นปีใหม่นี้
 ผู้ใหญ่เมี่ยนมักจะบอกกับเด็ก ๆ ว่า ถ้าเป็นผู้หญิงให้วันนี้ตั้งใจปักผ้าแล้วจะเก่งในฝีไม้ลายมือ ส่วนผู้ชายจะให้ไปเรียนหนังสือจะได้เก่ง ฉลาดในการเล่าเรียน
งานปีใหม่เมี่ยนจะจัดกัน 3 วัน มีวันที่สำคัญที่สุด คือ วันแรก วันไหว้วิญญาณบรรบุรุษ ส่วนวันที่ 2 และ 3 จะเป็นการสังสรรค์กับเหล่ามิตร และอยู่อย่างสงบตามวิถีชีวิตของชาวเมี่ยนผู้รักความสงบ






กิจกรรมในงานปีใหม่เมี่ยน

            เนื่องในวาระที่สำคัญของชนเผ่าเมี่ยนที่มีเชื้อสายชาวจีน เราก็มีโอกาสได้ไปสัมผัสกิจกรรมทางด้านประเพณีของเมี่ยนหลายหมู่บ้านในจังหวัดน่าน เขาก็ต้อนรับผู้มาเยือนเป็นอย่างดี เสมือนเป็นแขกคนสำคัญ เราจึงมีภาพกิจกรรมของชุมชนเมี่ยนมาให้ชม เพื่อจะได้เห็นประเพณีที่สำคัญ ความสวยงาม ความน่ารัก ของชนชาวเมี่ยนหรือเย้า











เครื่องประดับ



การแสดงกิจกรรม






พิธีเซ่นไหว้ของเมี่ยน  



ขอขอบคุณข้อมุลจาก www.MooHin.com