แนะนำตัวเอง

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเพณีบวชเมี่ยน(เย้า)

        ตามความเชื่อที่ว่าลูกผู้ชายคือเกียรติยศของวงศ์ตระกูล เพราะนั่นหมายถึงการสืบสกุลที่จะมีขึ้นต่อไป พิธีบวชลูกชายจึงเกิดขึ้น เพราะหากชายใดได้บวช ชาติหน้าเชื่อว่าจะได้เกิดเป็นชายอีกครั้ง และผลของการบวชจะทำให้ผู้นั้นเจริญรุ่งเรืองในการประกอบการงาน









พิธีบวช (กว๋าตัง)

 

คำว่า "กว๋า ตัง" ในภาษาเมี่ยนมีความหมายว่าแขวนตะเกียง ซึ่งเป็นการทำบุญเพื่อให้เกิดความสว่างขึ้น และเมี่ยนเองก็จะถือว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้แล้ว จะมีตะเกียง 3 ดวง พิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋า เป็นพิธีที่ทำเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ถือเป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตนเอง ทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ และเป็นผู้สืบสกุล ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า

พิธีกรรมนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีเพียงแต่คำบอกเล่าจากการสันนิษฐานของผู้อาวุโสว่า พิธีกว๋าตัง นี้มีมานานมากแล้ว คงจะเป็น "ฟ่ามชิงฮู่ง" เป็นผู้บัญญัติให้ชาวเมี่ยนทำพิธีนี้ เมื่อประมาณ 2361 ปีมาแล้ว เพราะ ฟ่ามชิงฮู่ง เป็นผู้สร้างโลกวิญญาณและโลกของคน ฟ่ามชิงฮู่ง จึงบอกให้ทำพิธีกว่าตัง เพื่อช่วยเหลือคนดีที่ตายไปให้ได้ขึ้นสวรรค์ หรือไปอยู่กับบรรพบุรุษของตนเอง จะได้ไม่ตกลงไปในนรกที่ยากลำบาก พิธีนี้เป็นพิธีบวชพิธีแรกซึ่งจะทำให้กับผู้ชาย เมี่ยน โดยไม่จำกัดอายุ ในประเพณีของเมี่ยน โดยเฉพาะผู้ชายถ้าจะเป็นคนที่สมบูรณ์จะต้องผ่านพิธีบวชก่อน

 

    
          พิธีกว๋าตัง หมายถึงพิธีแขวนตะเกียง 3 ดวง เป็นพิธีที่สำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นการสืบทอดตระกูล และเป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษด้วย ในการประกอบพิธีกว๋าตังนี้ จะต้องนำภาพเทพพระเจ้าทั้งหมดมาแขวน เพื่อเป็นสักขีพยานว่าบุคคลเหล่านี้ว่าได้ทำบุญแล้ว และจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อเสียชีวิตไป จุดสำคัญของพิธีนี้คือ การถ่ายทอดอำนาจบุญบารมีของอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งในขณะทำพิธีนี้จะมีฐานะเป็นอาจารย์ (ไซเตี๋ย) ของผู้เข้าร่วมพิธีอีกฐานะหนึ่ง และผู้ผ่านพิธีนี้จะต้องเรียกผู้ที่ถ่ายทอดบุญบารมีนี้ว่า อาจารย์ตลอดไป ผู้เป็นอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเสมอไป แต่ต้องผ่านการทำพิธีกว๋าตัง หรือพิธีบวชขั้นสูงสุด"โต่ว ไซ" ก่อน

เมื่อผ่านพิธีนี้แล้ว จะทำให้เขาเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ เขาจะได้รับชื่อใหม่ ชื่อนี้จะปรากฏรวมอยู่รวมกับทำเนียบวิญาณของบรรพบุรุษของเขา ซึ่งเป็นการสืบต่อตระกุลมิให้หมดไป เมื่อเขาเสียชีวิตเขาสามารถไปอยู่กับบรรพบุรุษที่ (ย่าง เจียว ต่ง) และอาจจะหลงไปอยู่ในที่ต่ำซึ่งเป็นที่ที่ไม่ดีหรือนรกก็ได้

พอเวลาลูกหลานทำบุญส่งไปให้ก็จะไม่ได้รับ เพราะไม่มีชื่อ นอกจากนี้ผู้ผ่านพิธี (กว๋า ตัง)ยังจะได้รับตำแหน่งศักดินาชั้นต่ำสุดของโลกวิญญาณ จะได้รับบริวารทหารองครักษ์ 36 องค์ และทำให้ภรรยามีเพิ่มเป็น 24 องค์ ดังนั้น ผู้ชายเมี่ยนทุกคนต้องทำพิธี (กว๋า ตัง) จะใช้เวลาในการทำพิธี 3 วันเป็นพิธีถวายตัวแก่เทพเจ้าเต๋า เพื่อวิญาณจะไปอยู่ร่วมกับบรรพชนและมีเทพ (ฮู่ง อิน) มาดูแลปกปักรักษาเมื่อสิ้นชีวิตลง และจะทำให้เขาเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว

มีศักดิ์และสิทธิที่จะเข้าร่วมพิธีต่างๆของเผ่าได้ทุกพิธี ช่วงที่ทำพิธีนี้ผู้เข้าร่วมจะต้องกินเจและถือพรหมจรรย์ ตามประเพณีแล้วผู้ชายเมี่ยนทุกคนจะต้องเข้าพิธี (กว๋า ตัง) ซึ่งจะไม่จำกัดอายุ จะน้อยหรือมากก็ได้ และจะมีชีวิตหรือไม่มีก็ได้ การผ่านพิธี (กว๋า ตัง) ยังสามารถทำให้ประกอบพิธีกรรมหลายอย่างได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการทำกิจกรรมงานอื่น ๆ ก็จะได้รับการเชื่อถือ

สำหรับชายที่แต่งงานแล้วเวลาทำพิธีบวช ภรรยาจะเข้าร่วมพิธีด้วย โดยจะอยู่ด้านหลังของสามี และการทำพิธีสามารถทำได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ คนก็ได้ แต่คนที่ทำนั้นจะต้องเป็นญาติพี่น้องกัน หรือนับถือบรรพบุรุษเดียวกัน เมี่ยนเรียกว่า(จ่วง เมี้ยน) หลังจากผ่านพิธีนี้แล้ว ผู้ทำพิธีจะได้รับชื่อผู้ใหญ่ และชื่อที่ใช้เวลาทำพิธีด้วยเรียกว่า (ฝะ บั๋ว)

 


การบวชแบ่งออก 3 ระดับ คือ

1. กว๋าฟามทอยตัง เป็นการบวชซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุด ใช้เวลาในการประกอบพิธี 3 วัน 3 คืนเท่านั้น
2. กว๋าเชียดฟิงตัง เป็นการบวชที่ถือว่าอยู่ในระดับกลาง มีพิธี 7 วัน 7 คืน
3. โต่วไซ หรือ กว๋าต้าล่อตัง ถือว่าเป็นการบวชที่ใหญ่ที่สุด ใช้เวลาในการประกอบพิธี 7 วัน 7 คืน
การบวชทั้ง 3 ระดับนี้ มีทั้งการบวชแบบเดี่ยวและแบบควบกัน
1. การบวช กว๋าฟามทอยตัง เพียงอย่างเดียว
2. การบวช กว๋าเชียดฟิงตัง หรือ กว๋าเชียดโต่ว ที่รวมกับการบวช กว๋าฟามทอยตัง
3. การบวช กว๋าต้าล่อตัง ที่รวมกับการบวชกว๋าฟามทอยตัง

ในการเข้าพิธีบวชนี้ในหมู่บ้านเครือญาติ จะมีการตรวจสอบหลักฐานของแต่ละคนจาก "นิ่นแซงเป้น" คือ บันทึกวันเดือนปีเกิดหรือสูติบัตร (เอ้โต้ว) คือ การปฏิบัติต่อกันมา และ "จาฟินตาน" คือ บันทึกรายชื่อของบรรพบุรุษที่แต่ละคนถือครองอยู่

 

# การเตรียมงาน เครื่องแต่งกาย ประจำเผ่าของผู้หญิง ซึ่งจะต้องเป็นเครื่องที่ตัดเย็บขึ้นใหม่
# ผ้า ดิบสีขาว(เจี๋ย ซิน เดีย) ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมประจำผู้เข้าพิธี 1 ผืน
# เก้าอี้ (กว๋าตัง ตน) ใช้สำหรับผู้เข้าพิธีนั่งตอนทำพิธีกว๋าตัง ซึ่งจะใช้ไม้ตัดมาใหม่ ทำเป็นรูปอักษรพิมพ์ใหญ่ตัว1แล้วแต่งด้วยกระดาษสีต่าง ๆ ที่ตัดเป็นลวยลายอย่างสวยงาม
# เสา ที่วางตะเกียง (เจียบ จ่าง เดี้ยว) ทำจากต้นกล้วย โดยตัดลำของต้นกล้วยสูงประมาณ 140 เซนติเมตร แล้วหาลำกล้วยอีกต้นมาตัดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร 2 ท่อน ใช้ไม้เสียบให้ติดกับด้านข้างของต้นสูงทั้งสองข้างให้เป็นแขนออกมา มีลักษณะด้านบนที่วางตะเกียงต้องใช้มีดคว้านให้มีขนาดวางตะเกียงได้พอดี
# กระดาษ สำหรับประกอบพิธีกรรม จะมี 2 แบบ คือ เจ่ยก๋อง และ เจ่ยหมา เจ่ยก๋อง ทำจากกระดาษสา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 4 คูณ 9 นิ้ว แล้วใช้เหล็กที่เป็นแม่พิมพ์รูปเงินตอกลงบนกระดาษจนเป็นรอย เรียงเป็นแถว 5-6 แถว เจ่ยหมา จะใช้แม่พิมพ์ไม้ขนาด 2 คูณ 8 นิ้ว เรียกว่า หมากเพย ทาด้วยหมึกดำ ซึ่งเผามาจากฟางข้าวแล้วผสมน้ำ แล้วกดลงบนกระดาษสาที่ตัดมา
# ห่อเกลือ สำหรับเชิญอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมและพ่อครู ทำโดยตัดใบตองขนาดพอเหมาะเช็ดให้สะอาดใส่เกลือประมาณ 2 ช้อน ห่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม คาดด้วยกระดาษสีขาวแล้วมัดซ้ำด้วยด้ายสีดำ
# ถุงข้าว (ซิ เจียน) สำหรับบูชาครู โดยใช้ผ้าดิบสีขาวตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมใส่ข้าวประมาณ 400 กรัม และใส่เหรียญเงินแท้แล้วผูกด้วยเชือก
# เรือ และหุ่นวิญญาณร้าย (ซู่ง เมี้ยน) เรือทำมาจากใบไม้ทีมีลักษณะรียาว ทำมาจากใบข้าวหรือข้าวโพดก็ได้ นำมาสานเป็นรูปเรือ ส่วนหุ่นวิญญาณร้าย ใช้ฟางข้าวมามัดเป็นรูปคน
# ตะเกียง แต่เดิมจะใช้ถ้วยชามแบบใหญ่ ใส่ข้าวสานลงไปประมาณ 3/4 ของถ้วย ใส่ด้วยควั่นเป็นเกลียว ปักลงไปในข้าวสาร แล้วเทน้ำมันงาลงไป ในปัจจุบันใช้เทียนขาวปักลงในข้าวสารแทน
# อาหาร ใช้สำหรับเซ่นไหว้ และสำหรับเลี้ยงแขก ได้แก่ หมู ไก่ ข้าวสวย เหล้า ชา ขนมเมี่ยน (ยั้วเจ๊ยะ) เป็นขนมที่ทำจากข้าวเหนียวผสมงาดำ ห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่ง
อุปกรณ์ (ซิบ เมี้ยน เมี่ยน) สำหรับอุปกรณ์ซิบเมี้ยนเมี่ยนส่วนใหญ่เป็นของที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่รวบรวมเตรียมพร้อมใช้ได้เลย ดังนี้
1. ภาพสามดาว (ต้ม ต๋อง เมี้ยน) ถือเสมือนเป็นเสื้อของเทพ เวลาอัญเชิญมาในพิธีก็จะมาสถิตในภาพนี้เลย
2. จ๋าว มีลักษณะเป็นไม้ 2 อัน ประกอบกัน ใช้สำหรับเสี่ยงทาย เพื่อที่จะทราบว่าเทพ หรือ เมี้ยน ยอมรับหรือพอใจในเครื่องเซ่นไหว้หรือไม่
3. มีดหมอผี (กิ๋ม) มีลักษณะเป็นมีดสั้น ที่ปลายด้ามมีดจะมีเหรียญร้อยเป็นพวงติดอยู่ ใช้สำหรับขับไล่สิ่งชั่วร้าย และนำมาแต่สิ่งที่ดี
4.ไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ (ชิ่ง ก๋วย) ทำมาจากไม้ ลักษณะเรียวยาว ปลายแหลมมีโลหะติดอยู่
5. เขาควาย (จอง) ใช้สำหรับเป๋าเชิญเทพแห่งดวงอาทิตย์ (หยุ่น ต๋าย ฮู่ง)
6. หนังสือทำพิธี ซึ่งต้องใช้หลายเล่ม เช่น คอยตาลโซ หนังสือที่บันทึกคำสวดสำหรับ เซ่นไหว้ และ จ่าฟินตาน หนังสือบันทึกชื่อบรรพบุรุษที่จะเชิญมาร่วมพิธี
7. ตราประทับ ทำจากไม้แกะสลักตัวอักษรจีน และกระดาษ, หมึกดำ, พู่กันจีน ใช้เขียนสารแจ้งเทพแห่งดวงอาทิตย์
8. กระถางธูป ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่
9. หงะเก๊น เป็นไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นแผ่นบางขนาด เป็นไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นแผ่น
10. เสื่อและเชือกปอ
11. กระดิ่ง เป็นเครื่องตนตรีที่ใช้ประกอบ
12. เครื่องดนตรี ที่ใช้ในงานมีเพียง 3 ชนิดเท่านั้น คือ กลอง (โหญ) ฆ้อง (ล่อ) และฉาบ (ฉาว เจ้ย)
13. ชุด สำหรับทำพิธีของอาจารย์ประกอบพิธีกรรม ประกอบด้วย หมวก ซึ่งเป็นหมวกสีดำทรงกลมตั้งขึ้น ด้านบนเย็บติดกัน ประดับด้วยพรมไหมสีแดงด้านบนจะแคบกว่าด้านล่าง เสื้อ (ลุ่ย กว๋า) เป็นเสื้อไม่มีแขน ผ่าอก ไม่มีปกคอเสื้อ ตัวเสื้อยาวต่ำกว่าสะโพก ใช้สวมทับชั้นใน มีลวดลายสีสันฉูดฉาด (ตุ้ง จุ่น) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู คลายกับกระโปรงสตรีที่ไม่เย็บติดกันยาวจากเอวถึข้อเท้า ใช้สวมทับกางเกง (ผา ฮุ้ง) เป็นผ้าสีแดง ใช้คาดเอวทับเสื้อ (ผา จุ่น) เป็นผ้าสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านหน้าผ้าใช้ผ้าทอด้วยมือสีดำปักลาย และตรงปลายของส่วนที่มีพู่ไหมพรมสีแดงประดับพองาม (เส้นต้อต๋าย) ใช้มัดหมวกซิบเมี้ยนเมี่ยน อาจารย์ประกอบพิธีกรรมจะแต่งตัวอย่างไร ขึ้นอยู่กับพิธีกรรมแต่ละขั้นตอน





ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายในชนเผ่าต่างๆ

                                                                                                                                                                          การแต่งกายในชนเผ่ากระเหรี่ยง






การแต่งกายในชนเผ่าอาข่า



      การแต่งกาย
      เมื่อสาวอาข่าแต่งตัวครบเครื่องจะสวยน่าตะลึงลานตั้งแต่ศีรษะจดเท้า เครื่องแต่งกายของหญิงอาข่าประกอบด้วยหมากที่ประดับและตกแต่งเต็มที่ด้วยเหรียญและเครื่องเงิน เสื้อตัวสั้นที่ปะด้วยเศษผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย หลากสีที่ด้านหลัง ซึ่งสวมคลุมทับกระโปรงสั้นเหนือเข่า มีผ้าคาดเอวซึ่งแต่งชายงดงาม และรัดน่องที่ปะและตกแต่งลวดลายสวยงามคล้ายด้านหลังเสื้อ
      ส่วนผู้ชายอาข่าจะสวมเสื้อคอกลม แขนยาว ผ่าหน้า ซึ่งมีรายละเอียดของแบบและการประดับประดาหลากหลาย ใช้ลวดลายและสีสันเช่นเดียวกับเสื้อสตรี ส่วนกางเกงขาก๊วยไม่มีการตกแต่ง ในบางโอกาสจะใช้ผ้าโพกศีรษะสีดำ พันอย่างเรียบร้อยแน่นหนาจนถอดและสวมได้คล้ายหมวก
เครื่องประดับนั้นส่วนใหญ่จะถูกเย็บติดกับเสื้อผ้า แต่ก็ยังนิยมสวมเครื่องเงินเป็นกำไลคอและข้อมือ รวมทั้งนิยมประดับหมวกด้วยเครื่องเงิน 


การแต่งกายของชนเผ่าม้ง



         ม้งเป็นนักปักที่ลือชื่อภาพชาวม้งที่เราคุ้นตามักจะเป็นม้งลายที่ผู้หญิงจะนุ่งกระโปรงจีบอัดกลีบรอบตัว ยาวแค่เข่าผ้าใยกัญชงหรือฝ้ายทอมือ เขียนลวดลายบาติกอันเป็นเอกลักษณ์ของม้ง ส่วนเสื้อจะเป็นผ้าสีดำแขนยาว สวยพิสดารด้วยฝีเข็มปักและลายปะละเอียดยิบ และมีรัดน่อง นอกจากนี้ เวลาแต่งตัวครบเครื่องจริงๆ ยังมีผ้ากันเปื้อนปักประดับกันวิจิตรงดงามคาดทับกระโปรงอีกที
ส่วนผู้ชายม้งจะสวมกางเกงขายาวสีดำหลวมๆ เป็นหย่อนลงมาเกือบถึงปลายขา สวมเสื้อแขนยาวผ่าอก สีดำเสื้อตัวสั้นลอยอยู่เหนือเอวมีการปักประดับลวดลายที่สาบ ชาวม้งนิยมใช้เครื่องประดับเงิน ทั้งชายและหญิงจะมีกำไลเงินประดับรอบคอกัน

การแต่งกายของชนเผ่าลีซู


ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com



หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว


วิถีชีวิตของชาวบ้านกระเหรี่ยง




ทางเข้าหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว จ.แม่ฮ่องสอน



ภายในหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว ที่โด่งดังไปทัวโลก

บ้านชาวกะเหรี่ยงแบบดั่งเดิม และบ้านสมัยใหม่ ที่แข็งแรงแน่นหนาขึ้น





บรรยากาศในหมู่บ้านกะเหรี่ยง บริเวณขายของที่ระลึก

ชนเผ่าลีซู







               ลีซอ ซึ่งชาวล้านนารุ่นเก่ามักเรียกว่า แข่ หรือ แข่รีซอ เป็นชนเผ่าชาวเขาที่เรียกตนเองว่า “ลีซู” ( Li-su ) คนไทยเรียกตามชาวจีนยูนนาน (จีนฮ่อ) ว่า ลีซอ นอกจากนี้ยังมีคำเรียกชาวลีซออีกหลายคำ เช่น ลูซู (Lu-tzu) ยอยิน ( Yaw-Yin ) หลอยซู ( Loisu ) และในภาษาจีนกลางเรียกว่า Lisu

       ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ พบว่ามีหมู่บ้านชาวลีซอตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยประมาณ ๖๐ หมู่บ้าน มีประชากร ๑๑,๐๐๐ คน ๑,๖๐๐ หลังคาเรือน เฉลี่ยจำนวนคน ๖.๘ คนต่อหลังคาเรือน ในระยะปี พ.ศ. ๒๕๒๑–๒๕๒๓ การกระจายตัวของประชากรชาวลีซอได้ถูกต้อง โดยทางรัฐบาลได้พยายามมีมาตรการในการควบคุมการอพยพ ดังนั้นการกระจายตัวของชาวลีซอจึงอยู่ในพื้นที่ ๑๐ จังหวัด แต่การอพยพยังมีอยู่โดยอพยพเป็นกลุ่มเล็กๆ จากหมู่บ้านหนึ่งโดยอาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
การอพยพเข้าสู่ประเทศไทยของชาวลีซอ จางถิ่นกำเนิดเดิมลงมาทิศใต้ มีสาเหตุมาจากการถูกกดดันด้านการปกครองถึงได้เกิดการสู้รบกัน ชาวลีซอบางส่วนจึงอพยพไปทางภาคเหนือของพม่า เหตุการณ์นี้เกิดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นศตวรรษที่ ๒๐ ในระยะต่อมามีปัญหาทางการเมืองในสหภาพพม่า ประกอบกับขาดแคลนที่ทำกินชาวลีซอจึงได้อพยพจากตอนใต้ของเมืองเชียงตุ งเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่ดอยผาลั้ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๒–๒๔๖๔ ต่อมากลุ่มนี้ได้อพยพตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ภายหลังจึงมีชาวลีซออพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย บริเวณหัวน้ำแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และบริเวณใกล้ดอยผ้าห่มปก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ การตั้งถิ่นฐานในระยะแรก ชาวลีซอจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ ๑,๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกฝิ่น

         สำหรับชาวลีซอในประเทศ ไทยมีเพียงกลุ่มเดียว ไม่มีกลุ่มย่อย ภาษาลีซอเป็นภาษากลุ่มเดียวกับภาษามูเซอและอีก้อ ซึ่งแยกสายมาจากกลุ่มภาษาโลโล ( Loloish ) สัมพันธ์กับกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า     ( Tibeto-Burman ) และโยงกับตระกูลภาษาใหญ่จีน-ทิเบต ( Sino-Tibetan) (มนัส มณีประเสริฐ ลีซอ พ.ศ. ๒๕๓๙)




อ้างอิงข้อมูลจาก      http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP









ชนเผ่าม้ง




ประวัติความเป็นมา
     ชาวเขาเผ่าแม้ว เรียกตนว่า ‘' ฮมัง ‘' หรือ ‘' ม้ง ‘' มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมไม่แน่ชัด มีข้อสันนิษฐานแตกต่างกันเป็นหลายทาง บ้างมีความเห็นว่าชาวแม้วเป็นเผ่าพันธุ์อิสระหรือไม่ก็เป็นเผ่าพันธุ์ผสม มีข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวแม้วอยู่ทางแถบเหนือของเอ เซีย อันมีลักษณะกึ่งคอเคเซียนกึ่งมองโลก เมื่ออพยพลงใต้ได้ผสมกับเผ่าพันธุ์อื่น ๆ บ้างในช่วงของการอพยพ    มีตำนานที่เล่าขานกันใน หมู่ชาวแม้วในประเทศจีนว่าบรรพบุรุษของพวกเข่าเคยอยู่ในพื้นที่ที่หนาวเย็น มาก ต่อมาจึงได้อพยพเข้าสู่อาณาเขตที่เป็นประเทศจีนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากเกสารเก่าแก่ที่สุดของจีนที่กล่าวถึงชื่อแม้วประมาณ ๔ , ๗๐๐ ปีก่อน ระบุว่ามีชาวแม้วอยู่ในลุ่มน้ำเหลืองแล้ว แต่การใช้ชื่อแม้วในเอกสารจีนอาจมีความสับสนอยู่บ้าง เนื่องจากในบางช่วงของประวัติศาสตร์ชื่อแม้วได้ขาดหายไปจากเอกสารโดยมีคำว่า ‘' หมาน ‘' ( คนป่าเถื่อน หรืออนารยชน ) มาใช้เรียกชนชาติอื่น ๆ ไม่ใช้เชื้อสายจีน หลักฐานเหล่านี้ ยังได้กล่าวถึงการทำสงครามาระหว่างชาวแม้วกับจีนเรื่อยมาจนกระทั่งมาถึง สมัยาราวงศ์หมิง ( เหม็ง ) ที่จีนได้ใช้กองทัพขนาดใหญ่รุกเข้าสู่พื้นที่ของชาวแม้ว อันเป็นเหตุผลักดันให้พวกเขาจำต้องอพยพหนีร่นลงมาทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ การปะทะกันยังเกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์แมนจู ทำให้ส่วนหนึ่งที่ยอมอยู่ในอำนาจของจีน เกิดการผสมผสานกันมากขึ้นและอีกส่วนหนึ่งที่มีการหนีร่นลงทางใต้ จนเข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ลาว และไทย รวมทั้งเข้าสู่บางส่วนของรัฐฉานในพม่าด้วย


สำหรับกลุ่มย่อยของชาวแม้วในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ
๑ ) ม้งจั๊ว อาจแปลได้ว่า ม้งเขียวหรือม้งน้ำเงิน ชาวแม้วกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่าม้งโดยไม่มีเสียง ‘' ฮ '' นำ พวกเขามักจะถูกเรียกในภาษาไทยว่า แม้วดำ แม้วลาย หรือแม้วดอกส่วนชาวแม้วอีกกลุ่มย่อยหนึ่ง มักนิยมเรียกพวกเขาว่าฮม้งเหล่งซึ่งอาจแปลได้ว่าฮม้งลาย
๒ ) ฮม้งเด๊อ แปลว่าฮม้งขาว เป็นชื่อพวกเขาเรียกตนเองโดยมีเสียง ‘' ฮ ‘' นำ คำว่า ‘' ฮม้ง '' ชื่อเรียกเป็นภาษาไทยก็ใช้ว่าแม้วขาว เคยมีผู้เรียกกลุ่มนี้ว่าแม้วเผือก แต่ไม่เป็นที่นิยมจึงสูยหายไป ส่วนกลุ่มม้งจั๊วจะเรียกพวกเขาว่า ม้งเกล๊อซึ่งก็เป็นคำเดียวกับฮม้งเด๊อเช่นกัน แต่ออกสำเนียงต่างกันไป


วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวม้ง

ชาวเผ่าอาข่า






       อีก้อ เป็นชื่อชาวเขาเผ่าหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า อาข่า (AKHA) ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มชาติพันธุ์ถูกเรียกว่า ข่าก้อ และในสหภาพพม่าใช้คำว่า ก้อ ในมลฑลยูนานของจีนแผ่นดินใหญ่และเวียดนาม กลุ่มชาติพันธุ์นี้จัดอยู่ในชนกลุ่มน้อยที่ถูกเรียกว่า ฮานี ในวรรณกรรมล้านนามักเขียนชื่อชนกลุ่มนี้ว่า ค้อ
   ข่า

         ข่าเป็นกลุ่มคนที่มีความเป็นมายาวนาน เล่าเป็นนิยายปรัมปราเรื่อง อมแปกอมแงน ซึ่งกล่าวถึงน้ำท่วมโลกว่า มีสองพี่น้องชายหญิงพากันไปขุดตุ่น (บ้างว่าขุดอ้น) เมื่อพบตัวตุ่นแล้วก็ทราบว่าจะเกิดน้ำท่วมโลก ตัวตุ่นบอกให้สองพี่น้องหลบเข้าไปข้างในกลอง ดังนั้นเมื่อถึงบ้าน สองพี่น้องจึงได้ทำกลองขนาดใหญ่แล้วหลบเข้าไปอยู่ข้างใน ต่อมาเมื่อเกิดน้ำท่วมโลก ผู้ตนตายหมด เหลือแต่สองพี่น้องคนที่อยู่ในกลอง จากนั้นสองพี่น้องจึงแยกย้ายกันไปมาคู่ครอง แต่ไม่พบใครรอดชีวิต ดังนั้นสองพี่น้องจึงตกลงอยู่กินกันฉันสามีภรรยา หลังจากนั้น 3 ปี ก็มีบุตรคลอดออกมาเป็นน้ำเต้า จึงนำไปแขวนไว้ข้างเตาไฟ ในขณะที่สองสามีภรรยาไปทำงานในไร่ ก็ได้ยินเสียงผู้คนร้องอยู่ในน้ำเต้าลูกนั้นหลายคราว วันหนึ่งผู้เป็นสามีจึงใช้เหล็กแหลมเผาไฟเจาะรูผลน้ำเต้า ทันใดนั้นก็ได้มีผู้คนพากันเบียดเสียดกันออกมาจำนวนมาก เขาจึงใช้สิ่วเจาะอีกรูหนึ่งให้กว้างขึ้น ผู้คนที่เหลืออยู่ก็พากันกรูออกมาตามรูที่เจาะ บรรดาผู้คนที่ออดมาก่อนจึงมีผิวคล้ำเพราะต้องเบียดเสียด สีกับเขม่าไฟ ซึ่งเชื่อว่าต่อมากลายเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าข่า ถือเป็นผู้อ้ายหรือพี่ของชนเผ่าอื่น ส่วนชนเผ่าไท-ลาวและเผ่าอื่น ๆ ซึ่งออกมาตาม



 


        ข่าแบ่งเป็นหลายพวก เช่น ข่ามุ ข่าเมต ข่าฮอก ข่าเกี่ยว ข่าเพน ข่าลอก ข่าก้อ ข่าปอก ข่าน้อย ข่ากะเวน ข่าวะ ฯลฯ ในที่นี้กล่าวเฉพาะกลุ่มใหญ่ 3 พวกแรกคือ ข่ามุ ข่าเมต และข่าฮอก 


ชนเผ่าชาวกระเหรี่ยง



              


กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคน
อนึ่ง คำว่า "กะเหรี่ยง" นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” คนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือกะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า “กะยา” แปลว่า “คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544: 279-280) อย่างไรก็ตาม เรื่องของชื่อเรียก “กะเหรี่ยง” นี้ยังเป็นปัญหาไม่เป็นที่ยุติ หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่าชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง” อีกต่อไป เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า “ปกาเกอะญอ” แทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กะเหรี่ยง” และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)

ไฟล์:CosTribe Kayin.gif

กะเหรี่ยงในประเทศไทย


ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรีกำแพงเพชรเชียงรายเชียงใหม่ตากประจวบคีรีขันธ์เพชรบุรีแพร่น่าน,แม่ฮ่องสอนราชบุรีลำปางลำพูนสุโขทัยสุพรรณบุรี และอุทัยธานี
กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ
  • สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
  • โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
  • ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ไฟล์:Longneckkaren.jpg

ถิ่นที่อยู่อาศัย
แม้ว่าชาวกะเหรี่ยงจะได้ชื่อว่าเป็นชาวเขา แต่ก็ไม่ได้อาศัยอยู่บนที่สูงเสียทั้งหมด บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ในหมู่บ้านบางแห่งมีทั้งกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป แต่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่นิยมย้ายถิ่นบ่อยๆ และมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรดินและแหล่งน้ำเป็นอย่างดี และเป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลำธาร
บ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงนิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้น มีชานบ้าน หรือไม่ก็ใช้เสาสูง แม้ว่าอยู่บนที่สูงก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่นิยมสร้างบ้านชั้นเดียว พื้นติดดิน เช่น ชาวม้ง หรือชาวเมี่ยน เป็นต้น
ไฟล์:Poo.jpg








ชาวไทยภูเขา

         ชาวไทยภูเขาคือชนกลุ่มน้อยที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตก ในเมืองไทยมีชาวไทยภูเขาหลายเผ่า เช่น อาข่า มูเซอ เย้า ปกากะญอ ลีซอ ม้ง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากมณฑลยูนนานในประเทศจีน แล้วลงมาเรื่อยจนถึงประเทศไทย
      ชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ล้วนมีวัฒนธรรมอันงดงามแตกต่างกันออกไป ทั้งเรื่องการประกอบอาชีพ ศาสนา ประเพณีปฏิบัติ อาหารการกิน ภาษา งานหัตถกรรมต่างๆ รวมไปถึงการแต่งกาย บางเผ่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นจนเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ อย่างกะเหรี่ยงคอยาวที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือชาวปะหล่องที่บ้านนอแล ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
    ปัจจุบันมีแหล่งท่องเที่ยวที่รวบรวมเอาเรื่องราวต่างๆ ของชาวไทยภูเขามาจัดแสดงในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขา จังหวัดเชียงราย
      อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ การก้าวเข้าไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ อย่างใกล้ชิดนั้น ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะมีหลายหมู่บ้านที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว เช่น บ้านห้วยฮี้ อำเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ของชาวปกากะญอ ซึ่งจัดระบบท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว บ้านในสอย อำเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวปะด่อง หรือกะเหรี่ยงคอยาว บ้านหัวแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นถิ่นอาศัยของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง อาข่า มูเซอ และลีซอ ฯลฯ 



                         ข้อมูลทางสถิติ ชาวไทยภูเขา (ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร)
         ในประเทศไทย ประชากรชาวไทยภูเขา อาศัยอยู่ในพื้นที่ 20 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน กาญจนบุรี ลำพูน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พะเยา ลำปาง แพร่ ราชบุรี กำแพงเพชร เพชรบุรี อุทัยธานี ประจวบคีรีขันธ์ 


         ในปีพ.ศ.2538 มีประชากรชาวไทยภูเขา จำนวน 853,274 คน (กรมประชาสงเคราะห์ : 2538) 

         ในปีพ.ศ.2545 มีประชากรชาวไทยภูเขาเพิ่มมากขึ้นเป็น 1,203,149 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง จำนวน 438,131 คน คิดเป็นร้อยละ 36.41 รองลงมาเป็นชาวเขาเผ่าแม้ว จำนวน 153,955 คน คิดเป็น ร้อยละ 12.79 ชาวเขาเผ่ามูเซอ จำนวน 102,876 คน คิดเป็นร้อยละ 8.55 ชาวเขาเผ่าอีก้อ จำนวน 68,653 คน คิดเป็นร้อยละ 5.70 ชาวเขาเผ่าเย้า จำนวน 45,571 คน คิดเป็นร้อยละ 3.78 และที่เหลือคือ ชาวเขาเผ่าลีซอ ลั้วะ ถิ่น ขมุ มลาบรี ปะหล่อง ตองซู ไทยลื้อ จีนฮ่อ ไทยใหญ่ ซึ่งมีจำนวนประชากรเพียงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ 4 ของประชากรชาวไทยภูเขาทั้งหมด (กรมประชาสงเคราะห์ : 2545) และในขณะที่มีอัตราการเพิ่มของประชากรเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น 

    ชาวไทยภูเขายังประสบปัญหาต่างๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาความยากจน ในปี พ.ศ.2543 พบว่า ชาวไทยภูเขา มีรายได้เฉลี่ยเพียง 59,184.93 บาท/ครัวเรือน/ปี และชาวเขาเผ่าที่ยากจนที่สุดได้แก่ เผ่าไทยลื้อ มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีเพียง 19,970 บาท รองลงมาคือ อาข่า และอีก้อ เฉลี่ย/ครัวเรือน/ปี เพียง 37,362.13 บาท ชาวเขาเผ่าปะหล่องมีรายได้เฉลี่ย/ครัวเรือน/ปี 43,908 บาท ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีรายได้เฉลี่ย/ครัวเรือน/ปี 43,526.78 บาท ชาวเขาเผ่าไทยใหญ่มีรายได้เฉลี่ย/ครัวเรือนต่อปี 44,990.80 บาท ชาวเขาเผ่าละว้ามีรายได้เฉลี่ย/ครัวเรือน/ปี 45,882.97 บาท และมีชาวเขาเผ่าเย้า จีนฮ่อ ม้ง มูเซอ ลีซอ และคนเมือง ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปี สูงกว่า 50,000 บาทขึ้นไป 

        โครงสร้างของประชากรชาวไทยภูเขาประชากรชาวไทยภูเขาที่มีอายุ 20 ปีลงมา มีจำนวนร้อยละ 46.33 และชาวไทยภูเขาที่มีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป มีจำนวนร้อยละ 53.67 จากสภาพปัญหาความยากจนของเกษตรกรชาวไทยภูเขาและในขณะเดียวกัน ก็ยังมีปัญหาในเรื่องการศึกษาจากการศึกษาของกองพัฒนาเกษตรที่สูง พบว่า ชาวไทยภูเขาที่อยู่ในวัยศึกษา คือ อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป มากกว่าครึ่งคือ ร้อยละ 65.40 ได้รับการศึกษาและไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 34.60 (กองพัฒนาเกษตรที่สูง : 2543) แต่ชาวเขาที่อยู่ในวัยทำงานส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาและส่งผลให้เกิดปัญหา ด้านสุขอนามัย มีรายงานผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ของกลุ่มหมู่บ้านต่างๆ สูงถึงร้อยละ 35.88 และปัญหาด้านยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านสุขอนามัยของคนในชุมชนและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของ ประเทศ พบว่ามีร้อยละของกลุ่มหมู่บ้านที่มีคนค้ายาเสพติดร้อยละ 43.97 และร้อยละของกลุ่ม หมู่บ้านที่มีผู้ติดยา ร้อยละ 72.18 มีผู้ติดยาเสพติดต่อกลุ่มหมู่บ้าน เฉลี่ย 17.04 คน และยังมีร้อยละของกลุ่มหมู่บ้านที่ยังมีการปลูกฝิ่นร้อยละ 6.62 (กองพัฒนาเกษตรที่สูง : 2543)


ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร