แนะนำตัวเอง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ชนเผ่าลีซู







               ลีซอ ซึ่งชาวล้านนารุ่นเก่ามักเรียกว่า แข่ หรือ แข่รีซอ เป็นชนเผ่าชาวเขาที่เรียกตนเองว่า “ลีซู” ( Li-su ) คนไทยเรียกตามชาวจีนยูนนาน (จีนฮ่อ) ว่า ลีซอ นอกจากนี้ยังมีคำเรียกชาวลีซออีกหลายคำ เช่น ลูซู (Lu-tzu) ยอยิน ( Yaw-Yin ) หลอยซู ( Loisu ) และในภาษาจีนกลางเรียกว่า Lisu

       ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ พบว่ามีหมู่บ้านชาวลีซอตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยประมาณ ๖๐ หมู่บ้าน มีประชากร ๑๑,๐๐๐ คน ๑,๖๐๐ หลังคาเรือน เฉลี่ยจำนวนคน ๖.๘ คนต่อหลังคาเรือน ในระยะปี พ.ศ. ๒๕๒๑–๒๕๒๓ การกระจายตัวของประชากรชาวลีซอได้ถูกต้อง โดยทางรัฐบาลได้พยายามมีมาตรการในการควบคุมการอพยพ ดังนั้นการกระจายตัวของชาวลีซอจึงอยู่ในพื้นที่ ๑๐ จังหวัด แต่การอพยพยังมีอยู่โดยอพยพเป็นกลุ่มเล็กๆ จากหมู่บ้านหนึ่งโดยอาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
การอพยพเข้าสู่ประเทศไทยของชาวลีซอ จางถิ่นกำเนิดเดิมลงมาทิศใต้ มีสาเหตุมาจากการถูกกดดันด้านการปกครองถึงได้เกิดการสู้รบกัน ชาวลีซอบางส่วนจึงอพยพไปทางภาคเหนือของพม่า เหตุการณ์นี้เกิดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นศตวรรษที่ ๒๐ ในระยะต่อมามีปัญหาทางการเมืองในสหภาพพม่า ประกอบกับขาดแคลนที่ทำกินชาวลีซอจึงได้อพยพจากตอนใต้ของเมืองเชียงตุ งเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่ดอยผาลั้ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๒–๒๔๖๔ ต่อมากลุ่มนี้ได้อพยพตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ภายหลังจึงมีชาวลีซออพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย บริเวณหัวน้ำแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และบริเวณใกล้ดอยผ้าห่มปก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ การตั้งถิ่นฐานในระยะแรก ชาวลีซอจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ ๑,๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกฝิ่น

         สำหรับชาวลีซอในประเทศ ไทยมีเพียงกลุ่มเดียว ไม่มีกลุ่มย่อย ภาษาลีซอเป็นภาษากลุ่มเดียวกับภาษามูเซอและอีก้อ ซึ่งแยกสายมาจากกลุ่มภาษาโลโล ( Loloish ) สัมพันธ์กับกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า     ( Tibeto-Burman ) และโยงกับตระกูลภาษาใหญ่จีน-ทิเบต ( Sino-Tibetan) (มนัส มณีประเสริฐ ลีซอ พ.ศ. ๒๕๓๙)




อ้างอิงข้อมูลจาก      http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น