แนะนำตัวเอง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ชนเผ่าชาวกระเหรี่ยง



              


กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคน
อนึ่ง คำว่า "กะเหรี่ยง" นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” คนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือกะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า “กะยา” แปลว่า “คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544: 279-280) อย่างไรก็ตาม เรื่องของชื่อเรียก “กะเหรี่ยง” นี้ยังเป็นปัญหาไม่เป็นที่ยุติ หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่าชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง” อีกต่อไป เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า “ปกาเกอะญอ” แทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กะเหรี่ยง” และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)

ไฟล์:CosTribe Kayin.gif

กะเหรี่ยงในประเทศไทย


ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรีกำแพงเพชรเชียงรายเชียงใหม่ตากประจวบคีรีขันธ์เพชรบุรีแพร่น่าน,แม่ฮ่องสอนราชบุรีลำปางลำพูนสุโขทัยสุพรรณบุรี และอุทัยธานี
กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ
  • สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
  • โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
  • ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ไฟล์:Longneckkaren.jpg

ถิ่นที่อยู่อาศัย
แม้ว่าชาวกะเหรี่ยงจะได้ชื่อว่าเป็นชาวเขา แต่ก็ไม่ได้อาศัยอยู่บนที่สูงเสียทั้งหมด บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ในหมู่บ้านบางแห่งมีทั้งกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป แต่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่นิยมย้ายถิ่นบ่อยๆ และมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรดินและแหล่งน้ำเป็นอย่างดี และเป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลำธาร
บ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงนิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้น มีชานบ้าน หรือไม่ก็ใช้เสาสูง แม้ว่าอยู่บนที่สูงก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่นิยมสร้างบ้านชั้นเดียว พื้นติดดิน เช่น ชาวม้ง หรือชาวเมี่ยน เป็นต้น
ไฟล์:Poo.jpg








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น