แนะนำตัวเอง

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พิธีแต่งงานของชาวเขาเผ่าม้ง

พิธีแต่งงานของชาวเขาเผ่าม้ง
          เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชายจะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “ หรือข๊า ” เป็นการต้อนรับคนทั้งสองเข้าบ้าน ซึ่งฝ่ายชายต้องแจ้งให้ญาติทางฝ่ายหญิงทราบภายใน 24 ชั่วโมง โดยจัดหาคน 2 คน เพื่อไปแจ้งข่าวให้พ่อแม่และญาติทางฝ่ายหญิงทราบ ว่าตอนนี้บุตรชายของเราได้พาบุตรสาวของท่านมาเป็นลูกสะใภ้ของเราแล้ว ท่านไม่ต้องเป็นห่วงบุตรสาว โดยคนที่ไปแจ้งข่าวนั้นคนม้งเรียกว่า “ แม่โก๊ง ”
          พ่อ แม่ฝ่ายหญิงจะแจ้งให้ทางฝ่ายชายว่าทราบว่าอีก 3 วันให้ “ แม่โก๊ง ” มาใหม่ นั้นหมายถึงว่าพ่อ แม่ทางฝ่ายหญิงต้องการจัดงานแต่งงาน สมัยก่อนคนม้งมักจะอยู่กินด้วยกันก่อนสองถึง3เดือนหรืออาจจะเป็นปีแล้วค่อยมาจัดงานแต่ง แต่ปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนไปตามยุคเทคโนโลยี ทำให้การจัดงานแต่งงานของคนม้งได้กำหนดจัดงานแต่งงานภายใน 3 วันเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน

         การกำหนดงานแต่งงานบางคนอาจกำหนดเมื่อมาแจ้งข่าว คนม้งเรียกว่า “ ก่างซุน ” แต่บางคนอาจจะกำหนดหลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน ที่เรียกว่า “ หน่าจื่อจ้งโช้ง ” พ่อแม่ของฝ่ายชายแม้จะไม่พร้อมแต่เมื่อทางฝ่ายหญิงต้องการก็ต้องพร้อมสำหรับจัดงานแต่งงาน เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมจะจัดงานแต่งงานทันที ในงานแต่งงานทางฝ่ายเจ้าบ่าวและทางฝ่ายเจ้าสาวจะผู้นำในการจัดงานแต่ง ฝ่ายเจ้าบ่าวเรียกว่า “ แม่โก๊ง ส่วนฝ่ายเจ้าสาวเรียกว่า “ ป๋อมิ๋น ” ซึ่งจะทำหน้าในการประสานงานทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อให้งานนั้นดำเนินอย่างราบรื่น การที่ฝ่ายชายจะเดินทางไปบ้านของฝ่ายหญิงนั้นฝ่ายเจ้าบ่าวต้อง ฆ่าหมู 1 ตัวเพื่อเป็นการขอบคุณญาติและแขกที่มาในงานแต่งของตัวเองและก่อนจะเดินทางผู้นำของฝ่ายเจ้าบ่าวที่เรียกว่า “ แม่โก๊ง ” จะสวดบทสวดซึ่งมีเนื้อหาว่า “ เราจะพาลูกบ่าวและลูกสะใภ้ของท่านไปที่บ้านของลูกสะใภ้เพื่อจัดงานแต่งงานขอให้ท่านอย่าห่วง ” ในการเดินทางนั้นฝ่ายเจ้าบ่าวประกอบด้วย

แม่โก๊ง (เฒ่าแก่) หน้าที่ ประสานงานทั้ง 2 ฝ่าย รับผิดชอบงานทุกอย่างในระหว่างจัดงานแต่ง
เจ้าบ่าว หน้าที่ ทำตามขั้นตอนพิธีกรรมม้ง
เพื่อนเจ้าบ่าว หน้าที่ ดูแลและรับผิดงานทุกอย่างร่วมกับเจ้าบ่าว
เจ้าสาว หน้าที่ ทำตามขั้นตอนพิธีกรรมม้ง
เพื่อนเจ้าสาว หน้าที่ คุ้มครองดูแลเจ้าสาว
คนแบกข้าวมื้อเที่ยง หน้าที่ ดูแลข้าวมื้อเที่ยงของการเดินทาง
          ทางฝ่ายพ่อแม่เจ้าสาวฆ่าหมูหรือฆ่าไก่ก็ได้เพื่อเป็นการขอบคุณแขกและต้อนรับฝ่ายเจ้าบ่าว และจะมีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบ เช่น คนทำข้าว คนสับเนื้อ ในงานแต่ง เมื่อฝ่ายเจ้าบ่าวมาถึงบ้านของเจ้าสาว “ แม่โก๊ง ” ทางฝ่ายของเจ้าบ่าวจะถามว่าอยู่บ้านไหม “ เม้ ปัว ง้อ เช่ ” และพ่อแม่ทางฝ่ายหญิงจะตอบว่าอยู่ “ ง้อ ” และจะเปิดประตูให้เข้าบ้าน ทางฝ่ายเจ้าบ่าวจะคาราวะญาติ และแขกทางฝ่ายหญิงด้วยการคุกเข่าโดยมีเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าวคาราวะ และหลังจากนั้นพักตามอัธยาศัยและพ่อแม่ทางฝ่ายเจ้าสาวเตรียมอาหารเพื่อให้ฝ่ายเจ้าบ่าวรับประทาน โดยบ้านฝ่ายเจ้าสาวมี “ กางสื่อ ” เป็นผู้จัดเตรียมการ ก่อนรับประทานอาหารผู้นำ (แม่โก๊ง)ของฝ่ายเจ้าบ่าวจะสวดบทสวดซึ่งมีเนื้อหาว่า “ เราขอขอบคุณสำหรับการต้อนรับและอาหารในมื้อนี้เป็นอย่างมาก ” การสวดบทสวดนั้นเพื่อเป็นการขอบคุณที่พ่อแม่ทางฝ่ายเจ้าสาวฆ่าหมูอย่างมีคุณค่าจากนั้นร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน และหลังจากรับประทานอาหารเสร็จพักตามอัธยาศัย


         เมื่อตกดึกผู้นำทั้ง 2 คนคือ “ แม่โก๊ง ” และ “ ป๋อมิ๋น ” จะประสานงานกันถึงค่าสินสอด ในสมัยก่อนค่าสินสอดเรียกว่า “ หน่าจื่อเค้าชอ ” ซึ่งหมายถึง ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือค่าที่พ่อแม่ชุบเลี้ยงลูก ปัจจุบันนี้อาจจะไม่คุ้นหูและอาจไม่เป็นที่รู้จักกัน และปัจจุบันนี้ค่าสินสอดของคนม้งที่นิยมกันคือ เงินแท่ง 4 แท่ง เมื่อตกลงค่าสินสอดทั้งสองฝ่ายแล้ว “ แม่โก๊ง ” จะเอาเงินให้ทางฝ่ายหญิงดูแล “ กางสื่อ ” จะเป็นบุคคลเก็บเงินและบอกกับพ่อแม่ทางฝ่ายหญิงว่า ฝ่ายเราเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะฝ่ายเขาได้คน แต่ฝ่ายเราไม่ได้คนเราก็ควรจะเอาค่าสินสอดและมีการจ่ายเงินให้อาป้า พี่สาว น้องสาว พี่ชายและน้องชาย ญาติ และแขก โดยจ่ายคนละ 200 บาท ซึ่งคนม้งเรียกว่า “ เงินเติมจ๋อ ”


           หลังจากนั้นจะมีการตั้งโต๊ะโดยทั้ง 2 ฝ่ายคือ ทางฝ่ายเจ้าสาวและทางฝ่ายเจ้าบ่าว ฆ่าไก่ คนละ 1 ตัว และหลังจากนั้นนำไปต้มเสร็จนำไปตั้งโต๊ะ “ แม่โก๊ง ” และ “ ป๋อมิ๋น ” จะสวดบทสวดก่อนจะขึ้นโต๊ะและจะมีการดื่มเหล้า โดยที่ “ แม่โก๊ง ” พูดว่าเราเอาเหล้าทุกคนดื่มเนื่องจากฝ่ายของเราเหลือได้ฝ่ายของท่าน และได้นำหมูมา 1 ตัวด้วย ซึ่งคนม้งนิยมนำหมูที่นำมาทำพิธีแต่งงานต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 80 กิโลกรัม และไม่มากกว่า 120 กิโลกรัม ส่วนความใหญ่นั้นคนม้งนิยมไม่น้อยกว่า 6 เมตร และความสูงไม่เกิน 8 เมตร และหลังจากนั้นทุกคนจะไปพักผ่อนตอนเช้าทางฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดการฆ่าหมูที่เตรียมมาซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงที่ฝ่ายเจ้าบ่าวรับผิดชอบ เมื่อจัดการเสร็จทางฝ่ายพ่อแม่ของฝ่ายเจ้าสาวจะจัดการสับเนื้อและต้ม เมื่อต้มเสร็จพ่อแม่ทางฝ่ายเจ้าสาวจะเตรียมตั้งโต๊ะและไปเชิญญาติและแขกมารับประทาน วิธีการเชิญแขกมางานแต่งของคนม้งนิยมเชิญว่า “ ลูกสาวของตนเองแต่งงานแล้วและวันนี้เป็นงานมงคลขอให้ท่านผู้มีเกียรติอยู่และอย่าเพิ่งกลับ-อยู่เพื่อดื่มฉลองพิธีแต่งงาน ” หลังจากแขกเหรื่อมารับประทานอาหารเร็จแล้วจะมีการตั้งโต๊ะใหม่มีการต้มยาใช้สำหรับดื่มบนโต๊ะ ซึ่งยาที่ต้มนั้นส่วนมาก คือ ใบฝรั่ง โดยที่กางสื่อจะริมให้ แม่โก๊งดื่มและริมให้ ป๋อมึ๋น ดื่ม ซึ่งบนโต๊ะนั้น แม่โก๊งจะอยู่ตรงกลาง และทางมือซ้ายของแม่โก๊งคือ อากับป้า และถัดมาคือ แขก และทางมือขวานั้นคือน้อง แขกและพี่ชาย บนโต๊ะนั้นจะมีการดื่มเหล้า เมื่อกางสื่อสวดบทสวดให้ แม่โก๊ง และป่อมิ๋น ทุกคนที่อยู่บนโต๊ะจะต้องลุกขึ้น ในการดื่มเหล้าบนโต๊ะคนม้งถือว่าไม่ควรพูดว่า หมด เพราะถือว่าเป็นคำหยาบ หากคนที่อยู่บนโต๊ะพูดจะถูกปรับโดยการดื่มเหล้าแทน




 
   “ กางสื่อ ” พูดว่า วันนี้เราจัดงานแต่งงาน เจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าวจะคุกเข่า 2 ครั้ง เพราะการคุกเข่านั้นเป็นการแสดงความเคารพต่อแขกและคนเฒ่าคนแก่ เพราะในอดีตนั้นม้งไม่มีการบันทึกเป็นลายอักษรว่า ใครแต่งงานกับใคร จึงมีการคุกเข่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ และให้คนที่มาในงานแต่งเป็นพยาน หากวันใดการใช้ชีวิตร่วมกันของคน 2 คนมีปัญหาขอให้คนที่มาในงานแต่งช่วยพูดให้คน 2 คนหันมารักกันต่อ และหลังจากนั้นเป็นการกินเลี้ยงโดยผู้ชายจะรับประทานก่อนและตามด้วยผู้หญิง หลังจากรับประทานอาหารเสร็จจะมีการเตรียมตั้งโต๊ะใหม่ การหันโต๊ะกลับเพราะใกล้ถึงเวลาที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะกลับ กางสื่อจะเตรียมเหล้า
          ซึ่งเป็นเวลาที่พ่อแม่เจ้าสาวสั่งสอนการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างเจ้าบ่าวและเจ้าสาว และหลังจากนั้นญาติพี่น้องจะเอาของให้เจ้าสาว เช่น จาน หม้อ เสื้อผ้าและผ้าห่มเป็นต้น กางสื่อจะเป็นคนมอบข้าวของให้เจ้าสาว จากนั้นแม่โก๊งจะสวดบทสวดเพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับข้าวของ ก่อนสวดบทสวดจะริมเหล้าให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาว และหลังจากนั้นแม่โก๊งจะสวดบทสวดเอาร่มก่อนกลับ และฆ่าไก่และห่อข้าวให้โดย ไก่ที่ฆ่านั้นจะผ่า ครึ่งตัวให้แม่เจ้าสาว และอีกครึ่งตัวให้เจ้าสาว โดยครึ่งตัวที่ให้เจ้าสาวนั้นมีหัวไก่ด้วย ส่วนข้าวที่ห่อนั้นจะผ่าเป็นสองส่วน อีกส่วนให้แม่ของเจ้าสาว และอีกส่วนให้เจ้าสาว เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อการใช้ชีวิตร่วมกันของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว และจากนั้นเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าวจะคุกเข่าเพื่อขอบคุณแขกและคนเฒ่าคนแก่ก่อนกลับ จากนั้นทางฝ่ายเจ้าบ่าวจะพาเจ้าสาวกลับโดยผ่านประตูผีซึ่งเป็นการจบขั้นตอนในการจัดงานแต่งที่บ้านของเจ้าสาว เป็นธรรมเนียมของคนม้งเมื่อเดินทางกลับครึ่งทางจะมีการรับประทานอาหาร เพื่อเส้นไหว้เจ้าที่เจ้าทาง และเมื่อเดินทางถึงบ้านเจ้าบ่าวแม่โก๊งจะบอกว่า เราได้พาเจ้าบ่าวและเจ้าสาวไปจัดงานแต่งงานที่บ้านฝ่ายเจ้าสาวเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าวจะคุกเข่าคาราวะเพื่อขอบคุณพ่อแม่และแขกที่มาร่วมงานแต่งที่บ้านเจ้าบ่าว ขอบคุณทุกคนที่มาช่วยงานในงานแต่งครั้งนั้นๆ


ขอบคุณข้อมูลจาก
 http://hilltribe.org/thai/hmong/hmong-marriage.php 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น