แนะนำตัวเอง

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเพณีปีใหม่ของแต่ชนเผ่าต่างๆ


       
   ความยิ่งใหญ่ของเทศกาลปีใหม่ของแต่ละชนเผ่าที่ไม่มีใครเป็นรองใคร ซึ่งเป็นเทศกาลที่แสดงถึงวิถีชีวิตของแต่ละชนเผ่าที่แตกต่างกันออกไป และมีความสำคัญต่อชนเผ่าแต่ละชนเผ่าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งประเพณีของแต่ละชนเผ่านั้นสืบเนื่องมาจากภูมิปัญญาของแต่ละชนเผ่าเอง ส่วนใหญ่แล้วแต่ละประเพณีนั้นมาจากวิถีชีวิตของแต่ละชนเผ่า เป็นการสื่อถึงความทุกข์ยากลำบากของแต่ละชนเผ่า และความรุ่งเรืองของแต่ละชนเผ่า ตลอดจนวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของแต่ละชนเผ่า ซึ่งทางทีมงานของเราได้ไปเก็บข้อมูลนี้มาเพื่อที่จะจัดทำให้ทุกคนที่มีความสนใจเรื่องประเพณี ของแต่ละชนเผ่าให้ได้ทราบตรงกับความเป็นจริง ณ โอกาสนี้





         เทศกาลปีใหม่กะเหรี่ยง หรือ นี่ซอโค่ เป็นเทศกาลการฉลองขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นวันที่ชาวกะเหรี่ยงจะต้องเริ่มต่อสู้กับวิถีชีวิตในรอบปีใหม่ที่กำลังมาเยือน ซึ่งในวันฉลองปีใหม่นั้นชาวกะเหรี่ยงมีกิจกรรมที่นิยมปฏิบัติ ดังนี้ ทำขนม และของคบเคี้ยว ได้แก่ ข้าวปุ๊ก ข้าวเหนียวต้ม ข้าวหลาม เพื่อที่จะเป็นของถวายเทพเจ้า และเป็นอาหารกินในวันนั้นอีก ซึ่งหากบุคคลใดที่มีความสนใจที่จะเข้าไปศึกษาถึงวิถีชีวิต ตลอดจนการศึกษาทำวิจัยก็สามารถที่จะเข้าไปในหมู่ บ้านที่มีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ได้ในจังหวัด ดังต่อไปนี้ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี เป็นต้น

      ม้ง



           เทศกาลปีใหม่ม้ง หรือ น่อเป๊โจ่วฮ์ หรือแปลตามตัว คือ กินสามสิบปี ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองปีใหม่ของม้ง จะจัดขึ้นในระหว่างเดือนธันวาคมและมกราคมของทุกปี ซึ่งเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่เข้ามา และเป็นการฉลองความสำเร็จของหนึ่งรอบปีอีก ซึ่งในเทศกาลปีใหม่นั้นจะมีการจัดกิจกรรมมากมายหลายชนิด ได้แก่ การโยนลูกช่วง การเล่นลูกข่าง การประกวดธิดาดอย การประกวดการร้องเพลงม้ง ฯลฯ ซึ่งเทศกาลนี้สามารถที่จะหาดู หรือเข้าไปชมการฉลองเทศกาลปีใหม่ม้งได้ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ที่มีม้งประจำอยู่ซึ่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก เป็นต้น

                                                                             เมี่ยน


            เทศกาลฉลองขึ้นปีใหม่เมี่ยน คือ วันตรุษจีน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 (จะนับ วัน เดือน ปี แบบจีน) ก่อนถึงวันขึ้นปีใหม่เมี่ยนจะมีการจัดเลี้ยงผีบรรพบุรุษ และเพื่อส่งท้ายปีเก่าต้องรับปีใหม่ที่จะเข้ามา ซึ่งภายในงานฉลองเทศกาลปีใหม่นั้น จะมีการจัดกิจกรรมอยู่มากมาย เช่น การพบปะญาติมิตร การรับขวัญ ด้วยไข่แดง เป็นต้น ท่านที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมฉลองเทศกาลปีใหม่เมี่ยนนั้น หรือเข้าชมได้ตามหมู่บ้านที่มีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ ซึ่งจังหวัดที่มีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ พะเยา น่าน ลำปาง กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย เป็นต้น




                ประเพณีปีใหม่การกินวอ หรือ เขาะเจ๊าเว เป็นเทศกาลฉลองปีใหม่ของลาหู่ที่ไม่เหมือนกับชนเผ่าอื่น ๆ ปีใหม่การกินวอของลาหู่นั้น จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลาหู่เอง ซึ่งปีใหม่การกินวอนั้นมีความสำคัญต่อลาหู่เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นประเพณีเกี่ยวกับวีถีชีวิตของลาหู่เป็นส่วนมาก หากท่านใดที่มีความสนใจก็สามารถที่จะเข้าไปชม หรือเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามหมู่บ้านที่ใกล้เคียง หรือเข้าไปชมในจังหวัดที่ใกล้เคียงได้ ซึ่งสามารถพบลาหู่ในจังหวัด ดังนี้ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่



            เทศกาลฉลองปีใหม่ของลีซู หรือ โข่เซยี่ยอาบา เป็นเทศกาลปีใหม่ที่มี ความสำคัญของชาวลีซูมาก เพราะชาวลีซูมีความเชื่อว่าเป็นวันเริ่มต้นสำหรับชีวิตใหม่ และสิ่งใหม่ๆหรือเรียกว่าฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เข้ามากับ ตัวเอง ในงานเทศกาลปีใหม่ลีซูนั้นมีการจัดกิจกรรมหลายอย่างได้แก่ การทำ บุญศาลเจ้า การขอศีลขอพรจากเทพเจ้าและจากผู้อาวุโส มีการละเล่นต่าง ๆ การร้องเพลง การเต้นรำเป็นต้น ซึ่งเทศกาลฉลองปีใหม่ของชาวลีซูนั้นตรง กับวันที่ 1 เดือน 1 ของทุกปี หากผู้ใดมีความสนใจก็สามารถที่เข้าไปชมกิจกรรม หรือเข้าร่วมกิจกรรมได้ในหมู่บ้านที่มีชาวลีซู ในจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ เป็นต้น รายละเอียด



             เทศกาลการฉลองปีใหม่ของอาข่านั้นมีหลายเทศกาลซึ่งได้แก่ ประเพณี ไข่แดงประเพณีตีลูกข่าง ประเพณีโล้ชิงช้าซึ่งแต่ละประเพณีนั้นล้วนแต่มีความ สำคัญ มีคุณค่าต่อภูมิปัญญาของชาวอาข่า ซึ่งประเพณีไข่แดง หรือ ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว ซึ่งมีความหมายว่า ประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ตรงกับกลาง เดือน เมษายน ส่วนประเพณีโล้ชิงช้า หรืออาข่าเรียกว่า "แย้ขู่อ่าเผ่ว" ซึ่งจะมี การจัด ขึ้นทุก ๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายนถือเป็น พิธีกรรมที่มีคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการส่งเสริมความรู้แล้ว ยังเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของอาข่าอีกมากมาย ส่วนประเพณีการตีลูกข่าง หรือ ค๊าท้องพ้าเออ จัดขึ้นเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่ง เทศกาลต่างของชนเผ่าอาข่านั้น สามารถที่จะหาดูได้หรือสามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้ในหมู่บ้านที่มีชนเผ่าอาข่าอยู่ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ตาก และ เพชรบูรณ์ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น